top of page
Writer's picturethip

HealthCheckup เว็บไซต์คัดกรองรายการตรวจสุขภาพจาก สสส.

Updated: May 24, 2018




ช่วงนี้ถึงรอบ #ตรวจสุขภาพรายปี #HealthCheckup ของตัวเองพอดีค่ะ ท๊าดา++ อย่างที่ทราบกันดีว่า สวัสดิการตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัท จะมีหน่วยบริการของโรงพยาบาลที่ตกลงคุยดีลกันไว้ เข้ามารับบริการตรวจให้พนักงานถึงที่ และส่วนมากแพคเกจหลักที่ครอบคลุมในสวัสดิการพนักงาน ก็จะเป็นการตรวจตามรายการทั่วๆไป เช่น ตรวจเลือดเบื้องต้น เอกซเรย์ทรวงอก เป็นต้น แต่หากต้องการตรวจอะไรเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ก็ต้องแจ้งกับทางผู้ให้บริการและชำระค่าบริการส่วนต่างนี้เอง จากนั้นค่อยนำใบเสร็จไปเบิกได้ภายหลัง แต่บางอย่างที่เราจำเป็นต้องตรวจ บางทีก็ไม่มีให้บริการสะด้วยอะซี๊ เช่น ใครที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน วันๆนึงก็ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ สิ่งที่เราควรได้รับการตรวจเช็คก็คือ “สายตา” ซึ่งบางแพคเกจก็ไม่มีให้บริการ (>.<)

เราคุ้นชินและใช้วิธีตรวจสุขภาพแบบนี้มาหลายปีค่ะ จนถึงช่วงวัยหนึ่งที่เริ่มหันมาใส่ใจกับสุขภาพของตัวเองมากขึ้น จนมีคำถามกับตัวเองว่า เราอายุเท่านี้..


pic from: https://www.drnematolahi.com/

มีอะไร? ส่วนไหนของร่างกายบ้างที่เราควรตรวจเช็ค!? แล้วแต่ละอย่างควรตรวจทุกๆกี่ปี?


เพราะการตรวจคัดกรองบางอย่างจะมีรอบความถี่ที่เหมาะสมในการตรวจไม่เหมือนกัน ยิ่งเป็นคุณผู้หญิงก็จะมีนู่นนี่นั่นที่ต้องคอยตรวจอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหน้าอก-หน้าใจ-หน้าท้อง(น้อย) หรืออวัยวะภายในต่างๆเอย  ซึ่งนอกจากเงื่อนไขเรื่องวัย/อายุ/เพศ ก็ยังมีเรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา ที่ต้องนำมาคิดบวกลบคูณหาร เพื่อเลือกรายการตรวจสุขภาพอีกด้วย

เอาเข้าจริงๆแล้วการตรวจสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดกับเราจริงๆ มันก็ยากอยู่เหมือนกันนะเนี่ย เพราะแต่ละคนก็จะมีปัจจัยหลายๆอย่างที่แตกต่างกัน


pic from: https://niktips.wordpress.com

ปีที่แล้วก่อนไปตรวจสุขภาพก็พยายามค้นหาข้อมูลด้วยตัวเองค่ะ  ว่าเราควรต้องตรวจอะไรบ้าง เรียกว่าเป็นปีที่จริงจังกับเรื่องสุขภาพของตัวเองมากขึ้น  จัดชุดใหญ่เป็นของขวัญให้ตัวเองเล้ย แต่ก็ใช้เวลานั่งหาข้อมูลอยู่หลายวันเลยทีเดียว เมื่อหาข้อมูลตามอินเทอร์เน็ตได้รายการที่แนะนำให้ตรวจตามวัยและเพศแล้ว ก็ต้องไปตระเวณหาแพคเกจตรวจสุขภาพตามโรงพยาบาลต่างๆ ว่ามีแพคเกจไหนที่ตรงใจและเหมาะกับเราที่สุด แม้ว่าแพคเกจตรวจสุขภาพส่วนใหญ่จะจำแนกแยกตามสิ่งที่ควรตรวจตามอายุเรา แต่การตรวจที่เป็นรายการเฉพาะบางอย่างที่ตัวเราเองคิดพิจารณาดูแล้วว่า เราควรตรวจ! จะมีรวมอยู่ในแพคเกจบ้าง ไม่มีบ้าง >.<”


เล่าท้าวความมายืดยาว คือจะบอกว่า…… ปีนี้ไม่ต้องเสียเวลาและพลังงานนั่งหาข้อมูลเองแล้วจ้า เพราะอ่านเจอว่า สสส. เขาพัฒนาเว็บไซต์ชื่อ healthcheckup ออกมาให้เราได้คัดกรองตัวเอง เพื่อให้ได้รายการตรวจสุขภาพที่เหมาะสม และจำเป็นจริงๆกับแต่ละบุคคลเท่านั้นนน เย้ๆๆๆ ตามข้อมูลที่อ่านบอกว่าการพัฒนาเว็บไซต์นี้เกิดมาจาก การวิเคราะห์โดยแพทย์หลายๆท่าน จนได้ออกมาเป็นคำถามแต่ละข้อ ที่จะมาเป็นตัวพิจารณาว่า เราแต่ละคนควรต้องตรวจอะไรบ้าง? ตรวจทุกๆกี่ปี?



ลองตรวจกัน!


ก่อนอื่นเข้าไปที่ → http://www.healthcheckup.in.th หน้าแรกจะพบกับกล่องค้นหาการตรวจสุขภาพหน้าตาใช้ง่าย เข้าใจง่ายเหมือนในรูปด้านล่างค่ะ เราก็เลือกเพศ เลือกอายุกันไป แล้วกดค้นหา


ซึ่งอย่างที่บอกแต่แรกว่า ปัจจัยต่างๆที่เราตอบกับระบบไป จะทำให้คำถามถัดๆไปของแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน อย่างของเราหน้าถัดไปจะเป็นแบบนี้ค่ะ โอ้วว นี่ถึงวัยที่ต้องตอบคำถามว่า เบาหวาน, ความดันมีไหม?? กันแล้ววว หึหึ


เสร็จแล้วว ทั้งหมดนี่คือรายการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมและเพียงพอกับตัวเราที่สุด!!

และยังสามารถบันทึกไฟล์เก็บไว้ ปริ้นเอกสารออกมา หรือจะส่งเข้าอีเมล์ก็ได้


ดูผลที่ออกมาแล้ว… รายการมันดูน้อยๆกว่าปกติเนอะ แต่เขาบอกว่านี่เป็นรายการที่เพียงพอและเหมาะสมแล้ว ไม่มากเกินความจำเป็น อย่างการตรวจ CBC นี่ก็เพิ่งทราบเหมือนกันค่ะ ว่าไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี การตรวจไขมันในเลือดก็ให้ตรวจทุกๆ 5 ปี ซึ่งเขาอาจจะดูจากข้อมูลที่เราให้ว่าไม่มีไขมัน ความดัน เบาหวาน แต่สำหรับความเห็นส่วนตัว..ไขมันนี่ตรวจทุกปีก็ดีนะคะ เพราะทุกวันนี้คนเราใช้ชีวิตแบบ “ช้าไม่เป็น เอาเร็วไว้ก่อน” ทานอะไรไม่ค่อยได้ตระหนักคิด ถ้าเราตรวจเช็คทุกปีก็น่าจะเป็นการป้องกันโรคได้ดีกว่าการที่ 5 ปีไปตรวจทีน๊าาา ของมันของทอดนี่..ของชอบของหลายๆคนทั้งนั้นนน



ข้อดีของผู้ช่วยคนใหม่

  • สะดวก รวดเร็ว

  • ใช้งานง่าย

  • ได้ข้อมูลที่เหมาะสมและเพียงพอกับลักษณะเฉพาะของสุขภาพแต่ละคน

  • ช่วยคัดกรองแพคเกจตรวจสุขภาพ

  • ได้ข้อมูลของรายการตรวจสุขภาพ รวมถึงการเตรียมตัวเบื้องต้น


นอกจากนี้เว็บไซต์ http://www.healthcheckup.in.th ก็ยังมีบทความเกี่ยวกับสุขภาพ ที่มีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงผู้สูงอายุ ให้ได้อ่านเพิ่ม เสริมความรู้ในสมองอีกมากมาย  ยังไงก็ลองแวะเข้าไปใช้บริการกันดูนะคะ รับรองว่ามีประโยชน์ มีของดีแบบนี้ไว้ใช้งาน ก็ต้องยกนิ้วให้กับ #กรมการแพทย#กระทรวงสาธารณสุข และ #สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (#สสส.) ไว้ ณ ที่นี้ (^o^)//


ไม่ว่าเราจะงานยุ่งมากเพียงใด ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจเพิ่มขึ้นอีกสักนิดหน่อย
ยังไงก็ต้องตรวจกันนะคะ อย่าชะล่าใจเป็นอันขาด!!!
เรื่อง #สุขภาพ ต้องจริงจังกันตั้งแต่วินาทีนี้
ก่อนที่จะสายเกินแก้.
12 views0 comments

Comentários


bottom of page